เกี่ยวกับคณะ

ดีไซน์ที่ยังไม่ได้ตั้งชื่อ__2___1_-removebg-previewประวัติความเป็นมา

คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น

คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น ตั้งอยู่ที่อาคารมหาวิชิราลงกรณ โดยจัดตั้งตามมติที่ประชุมการจัดทำกรอบอัตรากำลัง สายวิชาการ – สายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2569 (4 ปี) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 มีมติให้เปลี่ยนชื่อวิทยาลัยที่จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม “เป็นคณะ” ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจและโครงสร้างการบริหารงานใหม่ และสร้างความชัดเจนในการติดต่อประสานงานกับคณะ จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น นักศึกษาประชาชน ผู้ใช้บัณฑิต และหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นได้ดำเนินการพิจารณาเปลี่ยนชื่อ เป็น “คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น” (Faculty of Social Sciences and Local Development) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ในการประชุมครั้งที่ 129 (6/2564) เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 จากนั้น วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น ดำเนินการนำเรื่องเปลี่ยนชื่อคณะพร้อมกับปรับปรุงข้อมูลเอกสารการเสนอขอจัดตั้งส่วนงานภายในระดับคณะ/สำนักหรือเทียบเท่า (11 ข้อ) โดยใช้ข้อมูล ณ ปัจจุบัน เสนอต่อสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัย ตามลำดับ โดยสภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีมติเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 86 (3/2564) เมื่อวันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม 2564 และสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีมติเห็นชอบ ในการประชุมครั้งที่ 182 (8/2564) เมื่อวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2564

ปัจจุบันคณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่นจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การพัฒนาชุมชน และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ซึ่งเป็นกลุ่มวิชาทางสังคมศาสตร์ที่มีการเจริญเติบโตขึ้นมากทั้งจำนวนนักศึกษาและจำนวนคณาจารย์ ประกอบกับมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม                 มีภารกิจที่รับผิดชอบในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ตลอดจนด้านการพัฒนางานวิจัย การจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น เป็นส่วนงานใหม่ จึงมีความจำเป็นต่อการรองรับการเจริญเติบโตของมหาวิทยาลัย และตอบสนองต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยได้ดียิ่งขึ้น

ปรัชญาของวิทยาลัย

“คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มุ่งเน้นให้โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน สร้างศักยภาพให้เป็นขุมพลังแห่งปัญญา พัฒนาท้องถิ่น ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และมีคุณธรรม มีจิตสาธารณะ เพื่อรับใช้ท้องถิ่นและสังคม”

วิสัยทัศน์ของวิทยาลัย

“เป็นผู้นำในการสร้างองค์ความรู้ การวิจัย และบริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน”

พันธกิจของวิทยาลัย

1) ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ คุณธรรม โดยการพัฒนาหลักสูตรให้ได้มาตรฐาน บัณฑิตจบแล้วมีงานทำ รวมถึงการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญพร้อมทั้งหาทรัพยากรที่พอเพียงสำหรับการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา

2) พัฒนาและผลิตผลงานวิจัย รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ทางด้านสังคมที่มีคุณภาพ และมีการมุ่งเน้นการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และรับใช้สังคม

3) ให้บริการวิชาการแก่สังคมและชุมชน การดำเนินกิจกรรมร่วมกับประชาคมและเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก เพื่อการมีส่วนร่วมในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และมีบทบาทในการพัฒนาและสร้างชุมชนให้มีความเข้มแข็ง

4) ส่งเสริมและสนับสนุนการทำนุบำรุง และการพัฒนางานด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย โดยมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

5) สร้างระบบและกลไกในการบริหารจัดการองค์กรเพื่อพัฒนาวิทยาลัยฯ ไปสู่องค์กรนวัตกรรมที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Innovative Organization) บนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาลบนหลักการพึ่งพาตนเอง

อัตลักษณ์ของวิทยาลัย

บัณฑิตมีความคิดสร้างสรรค์และเป็นนักปฏิบัติที่มีจิตสาธารณะ เพื่อรับใช้ท้องถิ่นและสังคม College 4.0 (SSLD)

ยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย

คณะสังคมศาสตร์และการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีแนวทางในการดำเนินการตามประเด็นยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ดังนี

ประเด็นยุทธศาสตร์ / เป้าประสงค์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

1) บัณฑิตมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

2) นักศึกษามีทักษะในการประกอบอาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีจิตอาสารับใช้ชุมชน

3) บัณฑิตมีงานทำ

4) ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจ

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม

 

1) มีผลงานด้านวิจัยเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2) มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงสร้างสรรค์ทั้งระดับชาติ/นานาชาติ

3) พัฒนานวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มหรือใช้ประโยชน์ได้

4) มีการบูรณาการการวิจัยกับการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน

 

1) เป็นแหล่งสร้างความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การพัฒนาชุมชน และสังคมสงเคราะห์ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับชุมชนท้องถิ่น

2) มีเครือข่ายความร่วมมือด้านการให้บริการวิชาการระหว่างวิทยาลัยกับภาครัฐและภาคเอกชนทั้งระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด และประเทศ

3) มีการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมให้

นักศึกษาสามารถนำความรู้เชิงวิชาการไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้ต่อไป

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

1) บุคลากร นักศึกษา และประชาชนตระหนักถึงคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

ท้องถิ่น

2) บุคลากรน้อมนำความรู้ตามแนวพระราชดำริมาบูรณาการในการเรียนการสอน

3) นักศึกษา และประชาชนน้อมนำความรู้ตามแนวพระราชดำริไปใช้ในการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพ

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาระบบบริหารและสมรรถนะบุคลากร

1) มีศักยภาพในการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยในประเทศที่เปิดสอนสาขาวิชาทางด้านสังคมศาสตร์

2) ได้รับการยอมรับในมาตรฐานการบริหารงานของวิทยาลัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

3) บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานของ

4) มีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตและบริการ

5) มีภาพลักษณ์ที่ดีเป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นจากสังคม

6,816 total views, 4 views today