หลักสูตรสาขาวิชานิติศาสตร์
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Law Program in Law
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย : นิติศาสตรบัณฑิต (นิติศาสตร์)
: น.บ. (นิติศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Laws (Law)
: LL.B. (Law)
ความสำคัญของหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้กฎหมาย และเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อนำความรู้ความสามารถไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและในภาคเอกชน โดยสามารถนำองค์ความรู้ที่มีไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสมในหน่วยงานนั้นๆ
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้คู่คุณธรรม ยึดมั่นในหลักนิติธรรม รับผิดชอบต่อท้องถิ่นและสังคม
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถในด้านต่างๆ ดังนี้
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นนักกฎหมาย มีความรู้พื้นฐานทั่วไปทางกฎหมายทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติเป็นอย่างดี
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถประกอบวิชาชีพกฎหมายตามความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
- เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถและคุณธรรม ยึดมั่นในหลักนิติธรรม มีจิตใจรักความยุติธรรมและบริการสังคม
- เพื่อให้บัณฑิตมีวิสัยทัศน์ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและมีความสามารถเป็นผู้นำท้องถิ่นได้
- เพื่อให้บัณฑิตสามารถศึกษาวิชากฎหมายเฉพาะด้านในขั้นสูงต่อไป
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มุ่งเน้นผู้สำเร็จการศึกษาให้สามารถประกอบอาชีพตรงตามความต้องการของสังคม และท้องถิ่นตามคุณวุฒิ ศักยภาพ และสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษา
การพัฒนาและส่งเสริมนักศึกษาของหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพกำกับมาตรฐานการจัดการเรียนการสอน 2 สถาบัน ประกอบด้วย เนติบัณฑิตยสภา และสภาทนายความแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานวิชาชีพในปี พ.ศ.2557 บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตจึงสามารถเข้าสู่การเป็นสามัญสมาชิกและวิสามัญสมาขิกของสภาวิชาชีพทั้ง 2 สถาบันได้ โดยทั้งสองสถาบันได้ตรวจรับรองมาตรฐานสภาวิชาชีพ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่ทั้งสองสถาบันกำหนดไว้
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ผู้พิพากษา / ตุลาการ
- อัยการ
- ทนายความ
- ที่ปรึกษากฎหมายในภาครัฐและภาคเอกชน
- นิติกรภาครัฐ / เอกชน
- ข้าราชการทหาร นายทหารกรมพระธรรมนูญ / ตำรวจ พนักงานสอบสวน
- เจ้าหน้าที่กรมที่ดิน / เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก / เจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ ฯลฯ
- ข้าราชการ / พนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- ข้าราชการพลเรือนในสังกัดส่วนราชการต่างๆ
- เจ้าพนักงานปกครอง เช่น ปลัด ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- เจ้าหน้าที่ในองค์การมหาชน
- เจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐวิสาหกิจ
- เจ้าหน้าที่ในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
14.ผู้ปฏิบัติงานบริหาร ในภาคธุรกิจเอกชน
15.เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
16.อาชีพอื่นๆ
Facebook Page : นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม LAW PSRU
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต 2559
7,846 total views, 1 views today